4.26.2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันศุกร์ ที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ.2563


การเรียนออนไลน์ครั้งที่ 6 จากโปรแกรม ZOOM 


   



ความรู้ที่ได้ในวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้สอน เรื่อง การวัดและการประเมินพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์
การวัดผลและประเมินผลพัฒนาการเด็กปฐมวัยได้มีผู้ให้หลักที่สำคัญ ไว้ดังนี้ 1. ต้องประเมินพัฒนาการเด็กทุกด้าน 2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี 3. สภาพการประเมินต้องมีลักษณะเช่นเดียวกับการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของเด็กโดยจัดการประเมินให้เป็นส่วนหนึ่งของกิจวัตรประจำวันปกติตามตารางกิจกรรมประจำวัน 4. จัดทำการประเมินอย่างเป็นระบบมีการวางแผนการเลือกใช้เครื่องมือและการจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
เทคนิควิธีวัดความคิดสร้างสรรค์
1. การสังเกต : การสังเกตพฤติกรรมขอบุคคลที่แสดงออกเชิงสร้างสรรค์
2. การวาดภาพ : เป็นการถ่ายทอดความคิดเชิงสร้างสรรค์ออกมาเป็นรูปธรรม
3. รอยหยดหมึก : การให้เด็กดูภาพหมึกแล้วคิดตอบจากภาพที่เด็กเห็น
4. การเขียนเรียนความและงานศิลปะ : การให้เด็กเขียนเรียนความจากหัวข้อที่กำหนด และการประเมินจากงานศิลปะของนักเรียน
5. แบบทดสอบ : การให้เด็กทำแบบทดสอบความคิดสร้างสรรค์มาตรฐานซึ่งเป็นผลมาจากวิจัยที่เกี่ยวข้องของความคิดสร้างสรรค์ แบบทดสอบ

หลังจากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานชิ้นที่ 1 โดยกำหนดระยะเวลาการทำงาน 20 นาที
โจทย์ : ใครเป็นผู้มีบทบาทสำคัญต่อการวัดความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก เพราะอะไร



เวลาต่อมาอาจารย์ได้สั่งงานชิ้นที่ 2 โดยกำหนดระยะเวลาการทำงาน 20 นาที
โจทย์ : ให้นักศึกษานำเสนอสื่อธรรมชาติที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์


หลังจากนั้นอาจารย์ได้สั่งงานชิ้นที่ 3 โดยกำหนดระยะเวลาการทำงาน 20 นาที
โจทย์ : จงอธิบายลำดับขั้นของพัฒนาการทางความคิดสร้างสรรค์ของเด็กปฐมวัย
 



เวลาต่อมาอาจารย์ได้สั่งงานชิ้นที่ 4 โดยกำหนดระยะเวลาการทำงาน 20 นาที
โจทย์ : วิเคราะห์เปรียบเทียบแนวคิดทฤษฎีทางความคิดสร้างสรรค์จากเอกสารบทที่ 2



ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • อาจารย์มีกิจกรรม ในระหว่างการเรียน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียน
  • อาจารย์มัน้ำเสียงน่าฟัง เช่น การพูดเสียงต่ำ - เสียงสูง ทำให้น่าฟัง
  • อาจารย์รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา 
  • อาจารย์ได้มีข้อตกลงก่อนการเรียน และในระหว่างทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเข้าเรียนได้ตรงต่อเวลา
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น การตอบคำถาม การแชร์
  • เพื่อนมีการจดบันทึกในขณะที่กำลังเรียน
  • เพื่อนส่งเสียงดังในระหว่างทำกิจกรรมเวลาอาจารย์สั่งงาน อาจารย์ต้องพูดซ้ำ แต่ไม่บ่อย 
ประเมินตัวเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน
  • มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อน





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 17 เดือนเมษายน พ.ศ.2563


การเรียนออนไลน์ครั้งที่ 5 จากโปรแกรม ZOOM 





ความรู้ที่ได้ในวันนี้



วันนี้อาจารย์สอนเรื่อง การเคลื่อนไหวและจังหวะ 
ความหมาย ของการเคลื่อนไหวและจังหวะการที่ร่างกาย และจิตใจ มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อคนตรี และจังหวะซึ่งจังหวะนั้น หมายถึง อัตราช้า เร็วของการเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการตบมือเคาะไม้ เคาะเหล็ก ตีกลอง ฉิ่งฉาบ เป็นต้น และเป็นกระบวนการสำรวจตนเองเด็กที่ขาดทักษะทางการเคลื่อนไหว และจังหวะ ควรได้รับการกระตุ้นด้วยปัญหา เพื่อให้เด็กค้นหาคำตอบด้วยตนเองจุดแห่ง ความสนใจอยู่กิจกรรมมากกว่าผู้อื่น Ellis, 1972 แบ่งการเรียนรู้ทักษะทางกายไว้3ขั้นตอน 1.) ขั้นของการทำความเข้าใจ 2.) ขั้นของความสัมพันธ์ 3.) ขั้นของการแสดงออกอย่างอัตโนมัติ

อาจารย์ให้ทำกิจกรรมร้องเพลงไปด้วยและมีทาประกอบ โดยการกำมือ วาไว้บนมีข้างด้วยเพลงของช้าง



โครงสร้างและการทำงานของสมองที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้สมอง ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้คือสมองใหญ่มี 2 ซีก ได้แก่ สมองซีกซ้าย / สมองซีกขวาและมีการเชื่อมโยงกัน 1. สมองส่วนหน้า: ทำหน้าที่เกี่ยวกับอารมณ์การจำการเรียนรู้ความฉลาดความคิดอย่างมีเหตุผลควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อแขนกล้ามเนื้อขาและใบหน้า 2. สมองส่วนข้าง: ทำหน้าที่เกี่ยวกับการรับความรู้สึกสมองซีกซ้ายรับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางขวาสมองซีกขวารับความรู้สึกของกล้ามเนื้อทางซ้าย (จากมือ / แขน / เท้า) 3. สมองส่วนขมับ: ทำหน้าที่เกี่ยวกับการได้ยินและถ้าลึกเข้าไปข้างในจะทำหน้าที่เกี่ยวกับความจำระยะยาว สมอง: ความสำคัญหัวใจสำคัญของการเรียนรู้ของคนทำงานยุคใหม่คือการปลดปล่อยพลังสมองออกมา” การทำงานของสมองสมองเปรียบเสมือนแผงสวิตซ์ไฟฟ้าที่สลับซับซ้อนอยู่ในกะโหลกศีรษะเป็นไขมันมีเยื่อหุ้มอยู่ด้านนอกบรรจุเซลล์ประสาทหนึ่งแสนล้านเซลล์เรียกว่า“ นิวโรน” องค์ประกอบของการเคลื่อนไหว 1.) การรู้จักส่วนต่างๆของร่างกาย (Body Percussion) 2.) บริเวณและเนื้อที่ 3.) ระดับของการเคลื่อนไหว (Level) 4.) ทิศทางของการเคลื่อนไหว (Direction) 5.) การฝึกจังหวะ (Rhythm) 5. 1 การทำจังหวะด้วยการใช้ส่วนต่างๆของร่างกาย 5. 2 การทำจังหวะด้วยการเปล่งเสียง 5. 3 การทำจังหวะด้วยการใช้เครื่องเคาะจังหวะเครื่องมือทุกชนิด 5. 4 การทำจังหวะด้วยการเคลื่อนไหว หลังจากนั้นอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมเคลื่อนไหว โยคะ ที่เด็กสามารถทำได้ โดยการบอกวิธีการทำท่าอย่างเป็นขั้นตอน โดยดิฉันเลือก ท่าโยคะ คือ ท่าต้นไม้ (มีคลิป)



รูปแบบการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย •การเคลื่อนไหวตามจินตนาการ •การเคลื่อนไหวประกอบเพลง •การเคลื่อนไหวประกอบคำคล้องจอง •การเคลื่อนไหวประกอบจังหวะ •การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม •การเคลื่อนไหวเลียนแบบสิ่งต่างๆ (คนสัตว์ธรรมชาติ) •การเคลื่อนไหวฝึกความจำ •การเคลื่อนไหวประกอบประกอบอุปกรณ์ •การเคลื่อนไหวตามตามคำสั่ง •เคลื่อนไหวตามคำบรรยายหรือเหตุการณ์ต่างๆ•การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง ต่อไปอาจารย์ให้นักศึกษาได้ออกแบบท่าเต้นประกอบเพลง ท่าง่ายที่เด็กสามารถทำได้ 
(โดยกำหนด ส่งก่อน 5 โมงเย็น) ใช้เพลง รถแห่ฮู้ฮู



การวิเคราะห์ปรแบบการจัดกิจกรรมเคลื่อนไหวเพื่อนำไปเขียนแผนการจัดประสบการณ์ • 1 เคลื่อนไหวตามจินตนาการประกอบด้วย 1. 1เคลื่อนไหวตามจินตนาการประกอบเพลงคำคล้องจองตามจังหวะ 1. 2 เคลื่อนไหวตามจินตนาการประกอบอุปกรณ์ 1. 3 เคลื่อนไหวตามจินตนาการตามคำบรรยายและฝึกความจำ 1. 4 เคลื่อนไหวตามจินตนาการเลียนแบบสิ่งต่างๆ (คนสัตว์ธรรมชาติ) • 2 การเคลื่อนไหวตามตามคำสั่ง 3 การเคลื่อนไหวตามข้อตกลง • 4 การเคลื่อนไหวแบบผู้นำผู้ตาม • 5 การเคลื่อนไหวประกอบเพลงกายบริหารและจังหวะ

ประเมินอาจารย์

1. อาจารย์เข้าเรียนตรงต่อเวลา
2. อาจารย์มีกิจกรรม ในระหว่างการเรียน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียน
3. อาจารย์มัน้ำเสียงน่าฟัง เช่น การพูดเสียงต่ำ - เสียงสูง ทำให้น่าฟัง
4. อาจารย์รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา 
5. อาจารย์ได้มีข้อตกลงก่อนการเรียน และในระหว่างทำกิจกรรม
6. อาจารย์มีกิจกรรมด้วยในระหว่างเรียน ทำให้ไม่น่าเบื่อ

ประเมินเพื่อน 
  1. เพื่อนเข้าเรียนได้ตรงต่อเวลา
  2. เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น การตอบคำถาม การแชร์
  3. เพื่อนมีการจดบันทึกในขณะที่กำลังเรียน
  4. เพื่อนส่งเสียงดังในระหว่างทำกิจกรรมเวลาอาจารย์สั่งงาน อาจารย์ต้องพูดซ้ำ แต่ไม่บ่อย 
ประเมินตัวเอง 
  1. เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  2. มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน
  3. มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันศุกร์ ที่ 10 เดือนเมษายน พ.ศ.2563



การเรียนออนไลน์ครั้งที่ 4 จากโปรมแกรม ZOOM





ความรู้ที่ได้ในวันนี้

ก่อนเริ่มเรียนอาจารย์ให้ได้มีการร้องเพลงให้ฟัง ชื่อเพลง หนึ่งปีมีสิบสองเดือน
เนื้อเพลง หนึ่งปีนั้นมีสิบสอง               อย่าลืมเลือนจำไว้ให้มั่น
              หนึ่งสัปดาห์นั้นมีเจ็ดวัน       อาทิตย์ จันทร์ อังคาร พุธ พฤหัส ศุกร์ เสาร์

หลังจากนั้นอาจารย์ก็พาร้องเพลง แล้วให้นักศึกษา ออกแบบตัวเลข 1- 9 อย่างอิสระ นำเสนอผ่านทางไลน์

รูปที่วาดออกแบบโดยการมองรอบๆ บ้านและนึกจากสิ่งที่เคยพบเจอในชีวิตประจำวัน 
มีบางหมายเลขที่ทำผิดแล้ววาดใหม่ เกิดจากคิดไม่ออก สุดท้ายก็ผ่านไปด้วยดี
จากนั้นอาจารย์สอนเกี่ยวกับบทบาทของครูกับการจัดประสบการณ์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์พัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  1. ศึกษาและทำความเข้าเกี่ยวกับเนื้อหาและทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์เพื่อวางแผนการจัดกิจกรรมได้อย่างเหมาะสม
  2. ให้โอกาสเด็กได้เล่น การเล่นของเด็กนั้นจะช่วยให้เด็กได้ใช้ความคิด และครูจะต้องจัดเตรียมกิจกรรม วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ และเชิญชวนเด็กให้มาเล่นและได้มาลองทดลอง เช่น หนังสือและรูปภาพ และเกมนับจำนวน เป็นต้น

อาจารย์ให้ทำกิจกรรมภายในระหว่างเรียน โดยการนำ รูป สามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม มาต่อเป็นภาพตามจินตนาการ ในเวลาที่จำกัด จึงได้ภาพที่ได้ทำดังนี้


ภาพนี้ได้ให้ความรู้สึก หัวใจกำลังพองโต ในขณะที่ตอนนั้นมีความสุข และอารมณ์ดี ทำให้ภาพออกมาแบบนี้

      3. ให้เด็กมีส่วนร่วมริเริ่มกิจกรรม เช่น การใช้คำถามปลายปิด และให้เด็กได้คิด และแก้ปัญหา
      4. จัดเตรียมอุปกรณ์ให้มีความหลากหลาย เพื่อให้เด็กได้คิดริเริ่ม 
      5. จัดกิจกรรมหลากหลายรูปแบบ
      6. จัดประสบการณ์และสภาพแวดล้อมที่ใกล้ตัวเด็กและสอดคล้องในชีวิตประจำวัน
      7. จัดกิจกรรมที่เปิดโอกาสให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม และเป็นรายบุคคล

บทบาทของผู้ปกครองกับการส่งเสริมทักษะทางคณิตศาสตร์เพื่อพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
  1. การเห็นคุณค่าของการฝึกให้เด็กคิดและสนุกไปกับคณิตศาสตร์อย่างอิสระ รวมไปถึงการใช้คำถามเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน
  2. การให้เด็กได้ฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับทักษะพื้นฐานคณิตศาสตร์ เช่น การเก็บของเล่น ของใช้ส่วนตัว ให้เป็นหมวดหมู่ 
  3. การส่งเสริมจากสิ่งแวดล้อม เช่น การทำอาหารอาหาร การรดน้ำต้นไม้ การล้างผัก การเด็ดผัก ฝึกจากการให้เด็กโดยการสังเกต
  4. การที่เราพยายามไม่พูดหรือตำหนิ เพราะจะทำให้เด็กขากความมั่นใจ
  5. การจัดกิจกรรมต้องให้มีหลากหลายกิจกรรมโดยแต่ละกิจกรรมใช้เวลาไม่นาน
  6.  การส่งเสริมให้เด็กได้ช่วยเหลือตัวเอง พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกทำเอง จะทำให้ลูกได้สังเกตได้ลองผิดลองถูก จะเป็นประสบการณ์ของเด้กเอง
  7. การเป็นแบบอย่างที่ดี ต้องเริ่มจากคุณพ่อคุณแม่ ควรทำตัวเป็นนักคณิตศาสตร์ ให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ไปพร้อมๆ กัน


ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • อาจารย์มีกิจกรรม ในระหว่างการเรียน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียน
  • อาจารย์มัน้ำเสียงน่าฟัง เช่น การพูดเสียงต่ำ - เสียงสูง ทำให้น่าฟัง
  • อาจารย์รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา 
  • อาจารย์ได้มีข้อตกลงก่อนการเรียน และในระหว่างทำกิจกรรม
  • อาจารย์มีกิจกรรมด้วยในระหว่างเรียน ทำให้ไม่น่าเบื่อ
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเข้าเรียนได้ตรงต่อเวลา
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น การตอบคำถาม การแชร์
  • เพื่อนมีการจดบันทึกในขณะที่กำลังเรียน
  • เพื่อนส่งเสียงดังในระหว่างทำกิจกรรมเวลาอาจารย์สั่งงาน อาจารย์ต้องพูดซ้ำ แต่ไม่บ่อย 
ประเมินตัวเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน
  • มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อน


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

วันศุกร์ ที่ 27 เดือน มีนาคม พ.ศ.2563


การเรียนออนไลน์ครั้งที่ 2




ความรู้ที่ได้ในวันนี้

อาจารย์ได้สอนเรื่องทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ได้อธิบายไว้ดังนี้
(การสังเกต,การจำแนกประเภท,การสื่อความหมาย,การแสดงปริมาณ,การทดลอง)

การที่เราจะจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์เพื่อส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
  1. เราต้องยอมรับฟังความคิดใหม่ๆของเด็ก (ซักถาม ก่อนและหลัง)
  2. เข้าใจความคิดของเด็กที่แปลกใหม่และวิธีการคิดแก้ปัญหาของเด็ก (ยอมรับและเข้าใจในความคิดการแก้ปัญหา)
  3. แสดงให้เห็นว่าความคิดของเด็กนั้นมีคุณค่า (เปิดโอกาสให้เด็กเสนอความคิด)
  4. จัดโอกาสให้เด็กได้คิดและค้นพบ โดยที่เราไม่ต้องกำหนดอะไรเลย (การสร้างบรรยากาศในชั้นเรียน)
  5. ในการประเมินทุกครั้งควรต้องให้เด็กทราบถึงเหตุผลในการประเมิน (ให้เด็กเข้าใจถึงจุดประสงค์ในการประเมิน)
การจัดประสบการณ์ที่เน้นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
  1. ให้เด็กสังเกต สิ่งที่อยู่รอบข้าง
  2. สร้างความชัดเจนและความมั่นใจ ตอยกระตุ้นให้เด็กทุกคนสนใจวิทยาศาสตร์
  3. ปลูกฝังและจัดประสบการณ์ให้เด็กเห็นว่าการเรียนวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ
  4. สอดแทรกทักษะวิทยาศาสตร์เข้ากับการเรียนรู้อื่นๆ
  5. สรุปโดยการยอมรับความคิดเห็นของเด็กๆ ฝึกให้เด็กได้บันทึก เช่น การวาดภาพ การเล่าเรื่อง
บทบาทของผู้ปกครอง
  1. ผู้ปกครองควรส่งเสริมให้เด็กรู้จักสังเกตสิ่งต่างๆ รอบตัว เช่น การสังเกตน้ำ การสังเกตต้นไม้ พูดถึงลักษณะอย่างไร 
  2. ผู้ปกครองสร้างความมั่นใจในตนเองให้กับเด็ก โดยให้เขานั้นรู้สึกว่าเวลาที่เขาคิดนั้นมีคุณค่า และเป็นที่สนใจ
จากนั้นอาจารย์ก็ได้ยกตัวอย่างกิจกรรม





หลังจากที่อาจารย์ยกตัวอย่าง อาจารย์ได้มอบหมายให้ทำงานเป็นคู่ กับเพื่อน
กิจกรรม สนุกกับฟองสบู่สีสันสดใส
ผู้จัดทำ
ชื่อนางสาวสุพรรษา มีอุส่าห์ เลขที่ 3    กลุ่ม 102    และ  ชื่อนางสาววรรณภา ผังดี     เลขที่ 10  กลุ่ม 102





ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • อาจารย์มีกิจกรรม ในระหว่างการเรียน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียน
  • อาจารย์มัน้ำเสียงน่าฟัง เช่น การพูดเสียงต่ำ - เสียงสูง ทำให้น่าฟัง
  • อาจารย์รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา  
  • อาจารย์ได้มีข้อตกลงก่อนการเรียน และในระหว่างทำกิจกรรม
  • อาจารย์ให้ทำกิจกรรมในห้องเรียน พร้อมยกตัวอย่างกิจกรรมให้นักศึกษาดูและได้อธิบาย
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเข้าเรียนได้ตรงต่อเวลา
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น การตอบคำถาม การแสดงความคิดเห็น
  • เพื่อนมีการจดบันทึกในขณะที่กำลังเรียน
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมทุกคน อาจารย์ได้มอบหมายงานให้ทำโดยการจับคู่
  • เพื่อนส่งเสียงดังในระหว่างฟังอาจารย์และทำกิจกรรม ทำให้ฟังอาจารย์ไม่เข้าใจ จึงทำให้ต้องถามอาจารย์หลายรอบ
ประเมินตัวเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • แต่งกายสุภาพเรียบร้อย
  • มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน
  • มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อน
  • วันนี้ตั้งใจทำงานจับคู่ ให้เสร็จ











บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันศุกร์ ที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ.2563 การเรียนออนไลน์ครั้งที่ 6 จากโปรแกรม ZOOM      ความร...