4.26.2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันจันทร์ ที่ 17 เดือน กุมพาพันธ์ พ.ศ.2563






ความรู้ที่ได้ในวันนี้
วันนี้อาจารย์ได้พูด เรื่อง การทำของเล่น และ สื่อการสอนที่เป็นความคิดสร้างสรรค์จากวัสดุเหลือใช้




การทำของเล่นที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย ในความหมายที่เราเข้าใจ คือ ของเล่นเด็กวัยเรียนได้รับการออกแบบมาเพื่อกระตุ้นเด็กวัยเรียนในเรื่องการจินตนาการ และการส่งเสริมให้รักการเรียนรู้ สิ่งที่ได้รับนั้นควรเหมาะสมกับวัย
ความปลอดภัย : ต้องมาเป็นอันแรก

เลือกของเล่นช่วยพัฒนาการเรียนรู้ให้กับเด็ก
ช่วงแรกเกิด เด็กวัยแรกเกิดจนถึงเกือบ 3 ขวบเรียนรู้ที่จะดูแลข้าวของของตัวเองได้ดีอย่างที่พ่อแม่นึกไม่ถึงเลยทีเดียว เป็นเรื่องดีที่คุณจะสอนเขาให้มีพัฒนาการเรียนรู้ตามวัยผ่านของเล่น ให้มีความรับผิดชอบและเก็บสมบัติส่วนตัวให้อยู่ที่เดียวกันให้ปลอดภัยของเล่นที่เหมาะสมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ในวัยนี้ คือ กล่องต่าง ๆ ที่เด็กเรียนรู้การเก็บของส่วนตัวให้เป็นระเบียบ ไม่มีอะไรมากีดขวางทางเดินหรือคลานของลูกได้ ทำให้เด็กมีอิสระในการพัฒนาร่างกายได้อย่างปลอดภัย หมดกังวลเรื่องอุบัติเหตุจากของเล่นที่เกลื่อนกลาดไปทั่วห้องนอกจากเก็บของไม่ให้เกะกะแล้ว เด็กวัยนี้ฝึกง่ายให้รู้จักใช้สายตาสำรวจดูของเล่น ที่อาจมีการแตกบิ่นและมีมุมแหลมคมที่ทำให้เจ็บตัวได้ คุณลองสอนให้ลูกบอกคุณสิว่าของเล่นมันแตกหักตรงไหน

3 – 4 ขวบ วัยนี้เริ่มมีจินตนาการและต้องการเลียนแบบพฤติกรรมผู้ใหญ่ เป็นวัยที่จะมีการขยับแขนขาและอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย ของเล่นที่เหมาะสมก็พวกตุ๊กตาหุ่น เครื่องดนตรีที่ให้เสียงที่เรียกความสนใจเด็กได้ เครื่องครัวและชุดน้ำชาสำหรับเด็ก โทรศัพท์เด็กเล่น ตุ๊กตาสัตว์ เกมกระดาน และของเล่นลับสมอง เป็นต้น

4 – 6 ขวบ เด็กวัยนี้ชอบเข้ากลุ่มทำอะไรด้วยกัน เป็นวัยที่กำลังพัฒนาทักษะก่อนวัยเรียนและพัฒนาการเคลื่อนไหวร่างกายหลาย ๆ ส่วนในเวลาเดียวกัน คุณพ่อคุณแม่จะเห็นได้ว่าเด็กเริ่มเรียนรู้ทั้งวาดและเขียน ของเล่นที่เหมาะสม คือ ของเล่นพวกจักรยานเด็ก บล็อกตัวต่อให้เป็นหุ่นยนต์ หรืออะไรที่เขามีจินตนาการตามประสาเด็ก ดินสอสีหรืออุปกรณ์วาดเขียน เสื้อผ้าตุ๊กตา ของเล่นสำหรับเด็กวัยนี้ ทำขึ้นเพื่อพัฒนาการเคลื่อนไหวอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายให้สัมพันธ์กัน

สื่อทำมือจากวัสดุเหลือใช้ จะยกอย่างตัวอย่างการทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ดังนี้










ตัวอย่าง การทำสื่อจากวัสดุเหลือใช้ที่ทำด้วยธรรมชาติ ดังนี้









หลังจากนั้นอาจารย์ให้จับคู่ โดยให้คิดว่าจะทำของเล่นที่เหมาะกับเด็กปฐมวัย โดยให้เราคิดแล้วนำมาเสนอในสัปดาห์ต่อไป


การวัดผลประเมินผล
  1. ความคิดริเริ่ม 
  2. ความคิดคล่องแคล่ว
  3. ความคิดยืดหยุ่น
  4. ความคิดละเอียดละออ
ประเมินอาจารย์
  • อาจารย์เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • อาจารย์มีกิจกรรม ในระหว่างการเรียน โดยให้เด็กมีส่วนร่วมในการเรียน
  • อาจารย์มัน้ำเสียงน่าฟัง เช่น การพูดเสียงต่ำ - เสียงสูง ทำให้น่าฟัง
  • อาจารย์รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา 
  • อาจารย์ได้มีข้อตกลงก่อนการเรียน และในระหว่างทำกิจกรรม
ประเมินเพื่อน
  • เพื่อนเข้าเรียนได้ตรงต่อเวลา
  • เพื่อนมีส่วนร่วมในการตอบคำถามและร่วมแสดงความคิดเห็น เช่น การตอบคำถาม การแชร์
  • เพื่อนมีการจดบันทึกในขณะที่กำลังเรียน
  • เพื่อนส่งเสียงดังในระหว่างทำกิจกรรมเวลาอาจารย์สั่งงาน อาจารย์ต้องพูดซ้ำ แต่ไม่บ่อย 
ประเมินตัวเอง
  • เข้าเรียนตรงต่อเวลา
  • มีส่วนร่วมในการตอบคำถาม และแสดงความคิดเห็นร่วมกับเพื่อน
  • มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม ร่วมกับเพื่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13 วันศุกร์ ที่ 24 เดือนเมษายน พ.ศ.2563 การเรียนออนไลน์ครั้งที่ 6 จากโปรแกรม ZOOM      ความร...